ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

PHP คืออะไร

บทความนี้ได้ย้ายไปที่
http://sunzandesign.blogspot.com/2013/01/php.html


จะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมติดต่อกับฐานข้อมูล เพื่อนำไปแสดงผลบนอินเตอร์เน็ตตามความต้องการของผู้ใช้งานที่คลิกเข้าไปนั่น เอง

การเขียนโปรแกรมจะมีอยู่ 2 แบบครับ (ส่วนของ MOBILE APP จะขอไม่กล่าวถึงนะครับ ^^")

  1. Windows based Application (Desktop Application)
  2. Web based  Apllication

จะมีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ การเรียกใช้ทรัพยากรของเครื่องต่างกัน

1. Windows based คือโปรแกรมที่ต้องติดตั้งกับเครื่องของผู้ใช้แต่ละคนแต่ละเครื่องโดยที่อาจ จะใช้ฐานข้อมูลเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน หรือฐานข้อมูลเครื่องใครเครื่องมันก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของโปรแกรมนั้นๆ หากเป็นกรณีที่ใช้ฐานข้อมูลร่วมกันจะมีการเก็บข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ แต่โปรแกรมที่ใช้งานจะอยู่ที่เครื่องใครเครื่องมัน ดังนั้นสเปกคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต้องใกล้เคียงกันตามข้อกำหนดของโปรแกรมนั้นๆ

2. Web based คือโปรแกรมที่ทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยรันผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ทั่วไป เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome, Opera, Safari ฯลฯ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมหรือสคริปต์ที่พัฒนาขึ้นในแต่ละเครื่อง เพราะจะเรียกใช้งานผ่านเซิร์ฟเวอร์ด้วยเว็บเบราเซอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับระบบจัดการข้อมูล และรายงานต่างๆ แต่ไม่เหมาะกับการควบคุมฮาร์ดแวร์เช่นลิ้นชักเก็บเงิน หรือฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่ระบบ Windows based สามารถสั่งงานได้

ดูจากข้อมูลแล้วแน่นอนว่า PHP ต้องอยู่ในหมวดการเขียนโปรแกรมแบบ Web based เพราะเราจะเก็บสคริปต์ทั้งหมดที่เขียนขึ้นมาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ที่เดียว และให้ผู้ใช้งานเรียกข้อมูลผ่านเว็บเบราเซอร์ต่างๆ มาแสดงผลที่หน้าจอนั่นเอง

ถ้ายังสงสัยว่า PHP คืออะไร? ตามไปอ่านได้ที่
http://sunzandesign.blogspot.com/2013/01/php.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร้อยละ ทศนิยม 2 ตำแหน่งบวกคืน ไม่เท่ากับ 100 และ ปัญหาการคำนวณเลขทศนิยม เมื่อปัดเศษแล้วค่าที่บวกคืนไม่เท่าเดิม

กรณีนี้เป็นการทดสอบคำนวณเลขที่ต้องหารครึ่ง ตัวอย่างเช่น 2.33 / 2 = 1.165 กรณีนี้ถ้าเก็บค่านี้ในฐานข้อมูลที่กำหนดให้มีทศนิยมเพียง 2 หลัก ในฟิลด์ 2 ฟิลด์ซึ่งแต่ละฟิลด์จะถูกปัดขึ้นเป็น 1.7 เมื่อนำมาบวกกลับ 1.17 + 1.17 = 2.34 ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องกำหนดให้ฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บเลขทศนิยมได้หลายๆตัว ก็จะเก็บเลขทั้งสามหลักไว้ในฐานข้อมูลเลย 1.165 + 1.165 จะได้ 2.33 พอดี แต่ตอนเราแสดงรายงาน ก็จำเป็นจะต้องแสดงเลขทศนิยมเพียงแค่ 2 หลักอยู่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ ก็เก็บมันเป็นเลขทศนิยมเต็มจำนวนซะแล้วตอนแสดงก็ต้องปัดเศษอยู่ดี เพราะค่า 1.165 ถ้าใช้ฟังก์ชั่นปัดเศษลง ก็จะเหลือ 1.16 แต่ถ้าปัดขึ้นก็จะเป็น 1.17 ซึ่งตัวเลขทั้งสองตัว เมื่อนำมารวมกัน ยังไงๆ ก็ไม่เท่ากับ 2.33 อยู่ดี (1.16+1.16 = 2.32,    1.17+1.17 = 2.34 ) อีกตัวอย่างนึงครับเป็นการถอด VAT ราคาสินค้า การคิดค่าทศนิยม แล้วผลรวมเพี้ยน เนื่องจากการปัดเศษ แล้วยอดเกินบ้าง ขาดบ้าง ตัวอย่างการถอด VAT ซื้อของมา 573.50 บาท ถอด VAT ออกมาได้ (573.50*7) / 100 = 40.145 ราคาสินค้า จะได้เป็น 573.50 - 40.14...

การแชร์สแกนเนอร์ ถึงทำไม่ได้แต่ก็มีวิธีช่วยประหยัดขั้นตอนการทำงาน

"พี่ครับขอใช้เครื่องพี่สแกนเอกสารหน่อยครับ" "พี่ครับขอสแกนอีกสักสองแผ่นครับ" "พี่ครับพอดีมีเอกสารต้องสแกนเพิ่มน่ะครับ" ทุกครั้งที่ต้องสแกนเอกสารเป็นไฟล์เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ผมจะต้องลุกไปขอใช้เครื่องพิมพ์แบบ All-In-One ของพี่โจ้ทุกครั้ง บางครั้งก็เกรงใจแกครับ เห็นกำลังใจจดใจจ่ออยู่กับงานตรงหน้า ไหนจะต้องตอบคำถามคำโน้นคนนี้ทาง MSN บ้าง Facebook บ้าง ^___^ พอไปขอใช้เครื่องทีไรก็ดูแกจะไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ พยายามค้นหาวิธีแชร์สแกนเนอร์จากในอินเตอร์เน็ตอยู่หลายวัน ก็ไม่เจอวิธีที่จะสามารถแชร์สแกนเนอร์ให้เครื่องอื่นได้ใช้งานได้เลย แชร์ได้แค่ให้สั่งพิมพ์จากเครื่องอื่นๆได้เท่านั้น สุดท้ายก็เลยตัดสินใจใช้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้พบเจอมาใช้ประหยัดเวลา และไม่รบกวนการทำงานและสนทนาของพี่โจ้ ได้วิธีนึง นั่นก็คือ ตั้งค่าสแกนเนอร์ให้บันทึกอัตโนมัติ ไว้ในโฟลเดอร์ที่กำหนด แล้วก็ทำการแชร์โฟลเดอร์เครื่องพี่โจ้ทิ้งไว้ซะเลย 1. ตั้งค่าให้สแกนอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มสแกน 2. กำหนดให้บันทึกลงโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้แล้ว (แชร์โฟลเดอร์เก็บเอกสารสแกนของคอมฯเครื่องนั้นไว้) 3. ...

FPDF ภาษาไทย กับ วรรณยุกต์ลอย

สำหรับงานเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ ด้วย PHP ที่ต้องทำการส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์เอกสาร PDF นั้น เมื่อลองค้นดูแล้วก็เจอกับ FPDF เป็นคลาสที่เขียนขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แต่กับภาษาไทยแล้วก็ต้องเจอกับปัญหาสุดคลาสสิคคือ รองรับภาษาไทยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ^^" บทความที่สอนการใช้งานเบื้องต้นที่ครอบคลุมการทำงานของ FPDF http://www.select2web.com/category/fpdf จะมีบทความแนะนำการใช้ฟอนต์ภาษไทยอยู่ที่ลิงค์นี้ http://www.select2web.com/fpdf/fpdf-lesson-10.html ดาวน์โหลดและสร้างฟอนต์มาใช้เอง http://witkub.blogspot.com/2011/11/fpdf.html สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาวรรณยุกต์ลอย ลองดูวิธีจากที่นี่ http://punnawatt.blogspot.com/2009/07/pdf.html สุดท้ายแล้วลองทดลองมาหมด ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงใจครับ เพราะไม่สามารถแก้สระลอยได้อย่างแท้จริง เพราะเงื่อนไขข้อมูลจริงไม่อาจจะทำให้เหมือนในตัวอย่างได้ ก็เลยถอดใจเรื่องวรรณยุกต์ลอย นอกจากปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ลอย แล้วฟอนต์บางตัวก็เกิดปัญหาวรรณยุกต์ซ้อนทับกันด้วย เช่นคำว่า "นี้" เมื่อผลลัพธ์ออกมา สระอี และวรรณยุกต์โท จะทับกัน สรุป 1. ดาวน์โหล...

PHP CI MANIA