ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องการเก็บข้อมูลการแก้ไข (LOG DATA)


หลักการเก็บ LOG และติดตามการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้งาน

ผมได้ลองวางแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลไว้ดังนี้

1. เก็บเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
      จะเก็บข้อมูลเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้น โดยใช้หลัก 5W1H 
แต่จะไม่เก็บข้อมูลที่ถูกแก้ไขไป โดยใช้ หลักการในการเก็บข้อมูลดังนี้

  1. ใคร(Who)        คือยูสเซอร์ที่เข้าใช้งาน
  2. ทำอะไร(What)    สิ่งที่เกิดขึ้น เพิ่ม/แก้ไข/ลบ
  3. ที่ไหน(Where)    ระบุหน้าเมนู/ชื่อตารางข้อมูล/ไอดี
  4. เมื่อไหร่(When)    ระบุวันเวลาที่ทำกิจกรรม
  5. ทำไม(Why)        ระบุเหตุผล กรณีที่ แก้ไข/ลบ ข้อมูล
  6. อย่างไร(How)    หมายเหตุอื่นๆ ที่ต้องการชี้แจง (เมื่อเรียกดู)





2. เก็บข้อมูลก่อนการเปลี่ยนแปลง
      การเก็บข้อมูลก่อนการเปลี่ยนแปลงนั้น จะเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
ยิ่งมีการแก้ไขข้อมูลบ่อยครั้ง จำนวนข้อมูลที่ต้องเก็บก็มากขึ้นตาม
ไปด้วย ดังนั้นเพื่อป้องกันฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไป 
จึงต้องมีการลบข้อมูลที่เก่าไปแล้วออกบ้าง โดยกำหนดเงื่อนไขเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี

โดยหลักการที่กำหนดไว้ ดังนี้
  1. เมื่อมีการแก้ไขให้เก็บไว้ที่ ตาราง LOG 6 เดือน
  2. เมื่อข้อมูลที่เก็บไว้นานกว่า 6 เดือนย้ายไปที่ 1 ปี
  3. เมื่อข้อมูลที่เก็บไว้นานกว่า 1 ปี ย้ายไปเก็บเป็นไฟล์ xml
  4. เมื่อเรียกดูข้อมูล ให้ค้นหาและแสดงจากทั้ง 2 ตาราง
  5. หาไม่พบข้อมูลจากตารางทั้งสอง ให้ค้นหาจากไฟล์ xml


3. รูปแบบการจัดเก็บข้อมูล
      การ บันทึกข้อมูลจะเก็บเป็นข้อมูลต่อเนื่อง โดยมี เครื่องหมายที่กำหนดไว้คั่นกลางระหว่างข้อมู ลในแต่ละฟิลด์ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจะต้องเป็น สัญลักษณ์ที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่ต้องการเก็บ

เช่น FIELD1=>DATA1{[@]}FIELD2=>DATA2{[@]}FIELD3=>DATA3

      ฟิลด์ ที่ใช้เก็บข้อมูลจะมีเหมือนกันกับ แบบเก็บ LOG การเปลี่ยนแปลง แต่จะเพิ่มในส่วนของการเก็บข้อมูลก่อนการแก้ไขที่มีรูปแบบตามด้านบนนี้






คำแนะนำเพิ่มเติม
      ในการเก็บ LOG นั้น ถ้าเราเก็บเฉพาะชื่อผู้ใช้งานที่ล็อกอินเข้าระบบเท่านั้น อาจจะทำให้ไม่เพียงพอสำหรับใช้ยืนยันว่าใครทำรายการ ในกรณีที่มีการใช้รหัสของผู้อื่นในการทำรายการ ดังนั้นหากต้องการให้เก็บข้อมูลเจาะจงยิ่งขึ้น ให้เก็บ IP Address ของเครื่องที่ทำรายการด้วย และ IP ที่ใช้ควรจะเป็นไอพีที่ไม่ผ่านพร็อกซี่ เพราะหากมีการใช้งานพร็อกซี่ ไอพีที่ได้จะเหมือนกันหมด คือ ใช้ไอพีเดียวกันกับเครื่องพร็อกซี่นั่นเอง





PHP CI MANIA PHP Code Generator 

โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด "ลดเวลาการเขียนโปรแกรม"
ราคาสุดคุ้ม  
http://fastcoding.phpcodemania.com


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร้อยละ ทศนิยม 2 ตำแหน่งบวกคืน ไม่เท่ากับ 100 และ ปัญหาการคำนวณเลขทศนิยม เมื่อปัดเศษแล้วค่าที่บวกคืนไม่เท่าเดิม

กรณีนี้เป็นการทดสอบคำนวณเลขที่ต้องหารครึ่ง ตัวอย่างเช่น 2.33 / 2 = 1.165 กรณีนี้ถ้าเก็บค่านี้ในฐานข้อมูลที่กำหนดให้มีทศนิยมเพียง 2 หลัก ในฟิลด์ 2 ฟิลด์ซึ่งแต่ละฟิลด์จะถูกปัดขึ้นเป็น 1.7 เมื่อนำมาบวกกลับ 1.17 + 1.17 = 2.34 ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องกำหนดให้ฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บเลขทศนิยมได้หลายๆตัว ก็จะเก็บเลขทั้งสามหลักไว้ในฐานข้อมูลเลย 1.165 + 1.165 จะได้ 2.33 พอดี แต่ตอนเราแสดงรายงาน ก็จำเป็นจะต้องแสดงเลขทศนิยมเพียงแค่ 2 หลักอยู่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ ก็เก็บมันเป็นเลขทศนิยมเต็มจำนวนซะแล้วตอนแสดงก็ต้องปัดเศษอยู่ดี เพราะค่า 1.165 ถ้าใช้ฟังก์ชั่นปัดเศษลง ก็จะเหลือ 1.16 แต่ถ้าปัดขึ้นก็จะเป็น 1.17 ซึ่งตัวเลขทั้งสองตัว เมื่อนำมารวมกัน ยังไงๆ ก็ไม่เท่ากับ 2.33 อยู่ดี (1.16+1.16 = 2.32,    1.17+1.17 = 2.34 ) อีกตัวอย่างนึงครับเป็นการถอด VAT ราคาสินค้า การคิดค่าทศนิยม แล้วผลรวมเพี้ยน เนื่องจากการปัดเศษ แล้วยอดเกินบ้าง ขาดบ้าง ตัวอย่างการถอด VAT ซื้อของมา 573.50 บาท ถอด VAT ออกมาได้ (573.50*7) / 100 = 40.145 ราคาสินค้า จะได้เป็น 573.50 - 40.145 = 533.3

FPDF ภาษาไทย กับ วรรณยุกต์ลอย

สำหรับงานเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ ด้วย PHP ที่ต้องทำการส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์เอกสาร PDF นั้น เมื่อลองค้นดูแล้วก็เจอกับ FPDF เป็นคลาสที่เขียนขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แต่กับภาษาไทยแล้วก็ต้องเจอกับปัญหาสุดคลาสสิคคือ รองรับภาษาไทยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ^^" บทความที่สอนการใช้งานเบื้องต้นที่ครอบคลุมการทำงานของ FPDF http://www.select2web.com/category/fpdf จะมีบทความแนะนำการใช้ฟอนต์ภาษไทยอยู่ที่ลิงค์นี้ http://www.select2web.com/fpdf/fpdf-lesson-10.html ดาวน์โหลดและสร้างฟอนต์มาใช้เอง http://witkub.blogspot.com/2011/11/fpdf.html สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาวรรณยุกต์ลอย ลองดูวิธีจากที่นี่ http://punnawatt.blogspot.com/2009/07/pdf.html สุดท้ายแล้วลองทดลองมาหมด ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงใจครับ เพราะไม่สามารถแก้สระลอยได้อย่างแท้จริง เพราะเงื่อนไขข้อมูลจริงไม่อาจจะทำให้เหมือนในตัวอย่างได้ ก็เลยถอดใจเรื่องวรรณยุกต์ลอย นอกจากปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ลอย แล้วฟอนต์บางตัวก็เกิดปัญหาวรรณยุกต์ซ้อนทับกันด้วย เช่นคำว่า "นี้" เมื่อผลลัพธ์ออกมา สระอี และวรรณยุกต์โท จะทับกัน สรุป 1. ดาวน์โหล

FPDI มาทำให้การสร้างเอกสาร PDF ด้วย PHP ง่ายขึ้นกันเถอะ

เคยใช้กันรึยังครับ เหมาะสำหรับงานสร้างแบบฟอร์ม PDF แล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มทีหลัง หลักการคือโหลด PDF เข้ามา แล้วก็เขียนไฟล์ใหม่ขึ้นมา ส่วนที่มันไดนามิกมากๆ คงไม่เหมาะเท่าไหร่ ถ้าให้มองการทำงานของไลบรารี่ตัวนี้ ก็เหมือนกับที่เราสั่งทำใบเสร็จรับเงิน แล้วกรอกข้อมูลทีหลังนั่นเอง 1. สร้าง PDF เปล่าๆ ที่มีแค่ส่วนหัว และส่วนท้าย 2. เติมข้อมูลรายการลงในส่วนกลาง ถ้าเกินจำนวนแถวที่กำหนดให้ขึ้นหน้าใหม่ http://www.setasign.com/products/fpdi/about/ ตัวอย่างในลิงค์ต่อไปนี้ จะเป็นการนำข้อความในไฟล utf8test.txt ไปแทรกในไฟล์ logo.pdf http://www.setasign.com/products/fpdi/demos/tcpdf-demo/ PHP  CI  MANIA   -  PHP Code Generator  โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด  "ลดเวลาการเขียนโปรแกรม" ราคาสุดคุ้ม    http://fastcoding.phpcodemania.com

PHP CI MANIA