ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระบบอัตโนมัติ ที่แตกต่างกัน



       วันนี้มีเวลานั่งซดคาปูชิโน่เย็นแก้วใหญ่หลังมื้อเที่ยงในร้านแกแฟใกล้สำนักงาน ก็นั่งคิดอะไรไปเพลินๆ แล้วก็มีความคิดแว๊บเข้ามาในหัว ก็เกิดการเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์เดินดินกินข้าวแกงอย่างผมกับเจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์หัวไบรท์ตั้งแต่เกิดว่าเหมือนกันตรงไหน


    คิดๆ ดูแล้วคอมพิวเตอร์คงจะสร้างเลียนมนุษย์เรานั่นเอง เป็นการเลียนแบบในเรื่องระบบความคิด และระบบอัตโนมัติ

     เหมือนกันอย่างไร เรื่องความเร็วครับ คอมพิวเตอร์คิดคำนวณอย่างรวดเร็ว
คนก็คิดเร็ว ปากเร็ว มือเท้าเร็ว ยิ่งเวลาหงุดหงิดๆ ละก็นะ
     เรื่องความจำ คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลอย่างถาวรไว้ที่ ฮาร์ดดิสก์ และพักข้อมูลชั่วคราวไว้ที่แรมเพื่อสะดวกต่อการเรียกใช้

     คนเราเก็บข้อมูลไว้ที่สมอง เรื่องบางเรื่องก็เก็บไว้อย่างถาวรลบยังไงก็ลบไม่ออก ลืมยังไงก็ลืมไม่ลง แต่กับบางเรื่อง พยายามจดจำไว้อย่างดี พอถึงเวลาต้องใช้กับนึกไม่ออกซะงั้น เป็นอะไรที่ซับซ้อนครับ บางทีเผลอเดินสะดุด ก็ลืมซะแล้ว

     เวลาที่สมองปลอดโปร่งก็จำอะไรได้แม่น คิดอะไรก็เร็ว แต่พอหิวขึ้นมาข้อมูลก็ไปถูกพักไว้ที่ท้องซะงั้น ยิ่งถ้าหงุดหงิดขึ้นมา โมโหโกรธาหน้ามืด คราวนี้แหละสมาธิแตกกระเจิง ดั่งธาตุไฟเข้าแทรก ควันออกหูขึ้นมา ก็เกิดอาการแฮงก์เหมือนเครื่องโดนไวรัสเข้าสิง


    มนุษย์ถึงจะคิดช้า แต่ก็มีการนำสิ่งสำคัญที่เรียกว่าความรู้สึกใส่เข้าไปในขั้นตอนประมวลผลด้วย ถึงความแม่นยำจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถประยุกต์ขั้นตอนและทำได้มากกว่าคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างแม่นยำภายใต้ขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ด้วยระบบงานที่ออกแบบมาเท่านั้น บางอย่างที่นอกเหนือจากนี้ ก็ทำไม่ได้ซะแล้ว แล้วจะทำไงดีล่ะคราวนี้

     ก็เพราะด้วยเหตุนี้แหละครับ โปรแกรมเมอร์ตัวน้อยๆอย่างผมถึงได้มีงานทำมาจนถึงทุกวันนี้ ถ้าโปรแกรมสำเร็จรูปตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง ทุกหน่วยงานก็คงจะสั่งซื้อมาใช้โดยไม่ต้องลังเล แต่ผู้บริหารบางท่านเขามีความคิดที่กว้างกว่านั้นครับ การบริหารงานมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นตลอดเวลา และเมื่อไปยึดติดอยู่กับซอร์ฟแวร์ที่นำมาใช้ จะเกิดอะไรขึ้นล่ะครับ


       โปรแกรมบางตัวราคาหลักล้าน จะทิ้งขว้างก็เสียดาย จะใช้ต่อก็เหมือนไม่ตอบโจทย์ซะแล้ว

   
     แล้วการจ้างโปรแกรมเมอร์มานั่งประจำออฟฟิศมันดีจริงหรือ???


     ก็ไม่ใช่ว่าจะดีกว่าโปรแกรมสำเร็จรูปหรอกครับ เพียงแต่สั่งได้ปรับได้แก้ได้ ตามใจเรา แต่ก็เพราะมันยืดหยุ่นเกินไป จนมาตรฐานจะหย่อนยานอยู่แล้วนี่แหละครับ ทำให้เกิดเรื่องปวดหัวได้ไม่เว้นแต่ละวัน เพราะแก้ไขไปแล้วไม่มีฝ่ายทดสอบระบบน่ะครับ พอทดสอบโดยรวมผ่านก็นำไปใช้ แต่พอยูสเซอร์ใช้งานมากเข้าก็เจอบั๊กจนได้


     ทุกวันนี้ก็ต้องพยายามให้ดีที่สุดครับ ให้มันมีบั๊กให้น้อยที่สุด จะได้อยุ่รอดปลอดภัยต่อไป




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร้อยละ ทศนิยม 2 ตำแหน่งบวกคืน ไม่เท่ากับ 100 และ ปัญหาการคำนวณเลขทศนิยม เมื่อปัดเศษแล้วค่าที่บวกคืนไม่เท่าเดิม

กรณีนี้เป็นการทดสอบคำนวณเลขที่ต้องหารครึ่ง ตัวอย่างเช่น 2.33 / 2 = 1.165 กรณีนี้ถ้าเก็บค่านี้ในฐานข้อมูลที่กำหนดให้มีทศนิยมเพียง 2 หลัก ในฟิลด์ 2 ฟิลด์ซึ่งแต่ละฟิลด์จะถูกปัดขึ้นเป็น 1.7 เมื่อนำมาบวกกลับ 1.17 + 1.17 = 2.34 ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องกำหนดให้ฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บเลขทศนิยมได้หลายๆตัว ก็จะเก็บเลขทั้งสามหลักไว้ในฐานข้อมูลเลย 1.165 + 1.165 จะได้ 2.33 พอดี แต่ตอนเราแสดงรายงาน ก็จำเป็นจะต้องแสดงเลขทศนิยมเพียงแค่ 2 หลักอยู่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ ก็เก็บมันเป็นเลขทศนิยมเต็มจำนวนซะแล้วตอนแสดงก็ต้องปัดเศษอยู่ดี เพราะค่า 1.165 ถ้าใช้ฟังก์ชั่นปัดเศษลง ก็จะเหลือ 1.16 แต่ถ้าปัดขึ้นก็จะเป็น 1.17 ซึ่งตัวเลขทั้งสองตัว เมื่อนำมารวมกัน ยังไงๆ ก็ไม่เท่ากับ 2.33 อยู่ดี (1.16+1.16 = 2.32,    1.17+1.17 = 2.34 ) อีกตัวอย่างนึงครับเป็นการถอด VAT ราคาสินค้า การคิดค่าทศนิยม แล้วผลรวมเพี้ยน เนื่องจากการปัดเศษ แล้วยอดเกินบ้าง ขาดบ้าง ตัวอย่างการถอด VAT ซื้อของมา 573.50 บาท ถอด VAT ออกมาได้ (573.50*7) / 100 = 40.145 ราคาสินค้า จะได้เป็น 573.50 - 40.14...

FPDF ภาษาไทย กับ วรรณยุกต์ลอย

สำหรับงานเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ ด้วย PHP ที่ต้องทำการส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์เอกสาร PDF นั้น เมื่อลองค้นดูแล้วก็เจอกับ FPDF เป็นคลาสที่เขียนขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แต่กับภาษาไทยแล้วก็ต้องเจอกับปัญหาสุดคลาสสิคคือ รองรับภาษาไทยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ^^" บทความที่สอนการใช้งานเบื้องต้นที่ครอบคลุมการทำงานของ FPDF http://www.select2web.com/category/fpdf จะมีบทความแนะนำการใช้ฟอนต์ภาษไทยอยู่ที่ลิงค์นี้ http://www.select2web.com/fpdf/fpdf-lesson-10.html ดาวน์โหลดและสร้างฟอนต์มาใช้เอง http://witkub.blogspot.com/2011/11/fpdf.html สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาวรรณยุกต์ลอย ลองดูวิธีจากที่นี่ http://punnawatt.blogspot.com/2009/07/pdf.html สุดท้ายแล้วลองทดลองมาหมด ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงใจครับ เพราะไม่สามารถแก้สระลอยได้อย่างแท้จริง เพราะเงื่อนไขข้อมูลจริงไม่อาจจะทำให้เหมือนในตัวอย่างได้ ก็เลยถอดใจเรื่องวรรณยุกต์ลอย นอกจากปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ลอย แล้วฟอนต์บางตัวก็เกิดปัญหาวรรณยุกต์ซ้อนทับกันด้วย เช่นคำว่า "นี้" เมื่อผลลัพธ์ออกมา สระอี และวรรณยุกต์โท จะทับกัน สรุป 1. ดาวน์โหล...

การแชร์สแกนเนอร์ ถึงทำไม่ได้แต่ก็มีวิธีช่วยประหยัดขั้นตอนการทำงาน

"พี่ครับขอใช้เครื่องพี่สแกนเอกสารหน่อยครับ" "พี่ครับขอสแกนอีกสักสองแผ่นครับ" "พี่ครับพอดีมีเอกสารต้องสแกนเพิ่มน่ะครับ" ทุกครั้งที่ต้องสแกนเอกสารเป็นไฟล์เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ผมจะต้องลุกไปขอใช้เครื่องพิมพ์แบบ All-In-One ของพี่โจ้ทุกครั้ง บางครั้งก็เกรงใจแกครับ เห็นกำลังใจจดใจจ่ออยู่กับงานตรงหน้า ไหนจะต้องตอบคำถามคำโน้นคนนี้ทาง MSN บ้าง Facebook บ้าง ^___^ พอไปขอใช้เครื่องทีไรก็ดูแกจะไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ พยายามค้นหาวิธีแชร์สแกนเนอร์จากในอินเตอร์เน็ตอยู่หลายวัน ก็ไม่เจอวิธีที่จะสามารถแชร์สแกนเนอร์ให้เครื่องอื่นได้ใช้งานได้เลย แชร์ได้แค่ให้สั่งพิมพ์จากเครื่องอื่นๆได้เท่านั้น สุดท้ายก็เลยตัดสินใจใช้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้พบเจอมาใช้ประหยัดเวลา และไม่รบกวนการทำงานและสนทนาของพี่โจ้ ได้วิธีนึง นั่นก็คือ ตั้งค่าสแกนเนอร์ให้บันทึกอัตโนมัติ ไว้ในโฟลเดอร์ที่กำหนด แล้วก็ทำการแชร์โฟลเดอร์เครื่องพี่โจ้ทิ้งไว้ซะเลย 1. ตั้งค่าให้สแกนอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มสแกน 2. กำหนดให้บันทึกลงโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้แล้ว (แชร์โฟลเดอร์เก็บเอกสารสแกนของคอมฯเครื่องนั้นไว้) 3. ...

PHP CI MANIA