ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การปรับโค๊ดที่ใช้แสดงผลในรูปแบบใหม่ ต้องมีการกำหนดวันที่เริ่มใช้งานด้วย

       หลังจากที่คิดถึงเรื่อง การกำหนดให้การแสดงผลในโปรแกรม ตรงกับที่พิมพ์เป็นเอกสารเก็บไว้ไม่ให้คลาดเคลื่อนกัน จากการแก้ไขข้อมูลหลักให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เช่น จากเดิมใช้คำว่า "ฐานข้อมูล" แต่ปรากฏว่าคำที่เหมาะกว่าคือ "ระบบฐานข้อมูล" 


       เมื่อเราเรียกข้อมูลเดิมมาแสดงก็จะเกิดการคลาดเคลื่อนจากที่เคยพิมพ์เก็บเป็นเอกสารไว้ เพราะโปรแกรมอ้างอิงไอดี แล้วดึงข้อมูลชื่อมาแสดง แต่กลับได้ข้อมูลที่ผ่านการอัพเดตไปแล้ว


       เรื่องนี้แก้ไขได้ด้วยการสร้างวันที่บันทึกข้อมูลประจำเรคอร์ดไว้ครั้งล่าสุด เพื่อใช้เทียบกับวันที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักครั้งล่าสุด หากเปรียบเทียบแล้วปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลง ก็ให้เรานำข้อมูลเดิมก่อนหน้านั้นมาแสดงแทน เพียงเท่านี้ข้อมูลที่แสดงในโปรแกรม ก็จะถูกต้องและตรงกับข้อมูลในเอกสารที่เคยพิมพ์ไปแล้ว


       หลังจากนั้นไม่นาน ก็เกิดคำถามขึ้นมาอีกว่า "กรณีโปรแกรมมีการเพิ่มส่วนของการตรวจสอบใหม่" จะเกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลเดิมที่เคยพิมพ์ไว้แล้ว เช่น

       "กรณีข้อมูลไม่สมบูรณ์ จะไม่ให้พิมพ์"

       แน่นอนว่าพอเรียกข้อมูลเก่ามาแสดงผล เราจะสั่งพิมพ์ข้อมูลมาดูไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะมันไม่สมบูรณ์นั่นเอง ก็เพิ่งปรับปรุงระบบการตรวจสอบข้อมูลไปนี่นา แล้วทีนี้จะทำยังไงดี


       เช่นเดียวกันกับกรณีข้างบน เราก็เพียงแต่เพิ่มวันที่เริ่มใช้งานของเงื่อนไขใหม่ๆนั้นๆไว้ การเรียกข้อมูลเก่าๆ มาพิมพ์ก็จะไม่มีผลกระทบอีก เรียกพิมพ์ได้ปกติ จะมีผลบังคับใช้ก็แต่ข้อมูลที่บันทึกใหม่เท่านั้น

      หลายท่านอาจจะสงสัยว่า "ทำไมไม่ตรวจสอบขั้นตอนบันทึก" ที่ก็อยากจะทำเช่นนั้นอยู่เหมือนกันครับ เพราะข้อมูลที่เคยพิมพ์ออกมาเราจะไม่แก้ไขอีก เพราะเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วก็ไม่มีผล แต่ปัญหาคือ เมื่อเรามาลองกรอกข้อมูลจนครบในแบบฟอร์มแล้ว แต่กลับบันทึกไม่ได้เพราะข้อมูลบางส่วนที่อ้างอิงไม่สมบูรณ์ จะเกิดอาการเงิบ....ขนาดไหน (ตูนั่งกรอกมาครึ่งชั่วโมง ดันบันทึกไม่ได้ -O-)


      สรุปก็คือ ไม่ว่าจะแก้ไขข้อมูลหลัก หรือเริ่มใช้งานระบบตรวจสอบข้อมูล ต้องพึงระวังผลกระทบต่อข้อมูลเก่าๆที่เสร็จสมบูรณ์ไปแล้วด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร้อยละ ทศนิยม 2 ตำแหน่งบวกคืน ไม่เท่ากับ 100 และ ปัญหาการคำนวณเลขทศนิยม เมื่อปัดเศษแล้วค่าที่บวกคืนไม่เท่าเดิม

กรณีนี้เป็นการทดสอบคำนวณเลขที่ต้องหารครึ่ง ตัวอย่างเช่น 2.33 / 2 = 1.165 กรณีนี้ถ้าเก็บค่านี้ในฐานข้อมูลที่กำหนดให้มีทศนิยมเพียง 2 หลัก ในฟิลด์ 2 ฟิลด์ซึ่งแต่ละฟิลด์จะถูกปัดขึ้นเป็น 1.7 เมื่อนำมาบวกกลับ 1.17 + 1.17 = 2.34 ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องกำหนดให้ฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บเลขทศนิยมได้หลายๆตัว ก็จะเก็บเลขทั้งสามหลักไว้ในฐานข้อมูลเลย 1.165 + 1.165 จะได้ 2.33 พอดี แต่ตอนเราแสดงรายงาน ก็จำเป็นจะต้องแสดงเลขทศนิยมเพียงแค่ 2 หลักอยู่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ ก็เก็บมันเป็นเลขทศนิยมเต็มจำนวนซะแล้วตอนแสดงก็ต้องปัดเศษอยู่ดี เพราะค่า 1.165 ถ้าใช้ฟังก์ชั่นปัดเศษลง ก็จะเหลือ 1.16 แต่ถ้าปัดขึ้นก็จะเป็น 1.17 ซึ่งตัวเลขทั้งสองตัว เมื่อนำมารวมกัน ยังไงๆ ก็ไม่เท่ากับ 2.33 อยู่ดี (1.16+1.16 = 2.32,    1.17+1.17 = 2.34 ) อีกตัวอย่างนึงครับเป็นการถอด VAT ราคาสินค้า การคิดค่าทศนิยม แล้วผลรวมเพี้ยน เนื่องจากการปัดเศษ แล้วยอดเกินบ้าง ขาดบ้าง ตัวอย่างการถอด VAT ซื้อของมา 573.50 บาท ถอด VAT ออกมาได้ (573.50*7) / 100 = 40.145 ราคาสินค้า จะได้เป็น 573.50 - 40.14...

การแชร์สแกนเนอร์ ถึงทำไม่ได้แต่ก็มีวิธีช่วยประหยัดขั้นตอนการทำงาน

"พี่ครับขอใช้เครื่องพี่สแกนเอกสารหน่อยครับ" "พี่ครับขอสแกนอีกสักสองแผ่นครับ" "พี่ครับพอดีมีเอกสารต้องสแกนเพิ่มน่ะครับ" ทุกครั้งที่ต้องสแกนเอกสารเป็นไฟล์เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ผมจะต้องลุกไปขอใช้เครื่องพิมพ์แบบ All-In-One ของพี่โจ้ทุกครั้ง บางครั้งก็เกรงใจแกครับ เห็นกำลังใจจดใจจ่ออยู่กับงานตรงหน้า ไหนจะต้องตอบคำถามคำโน้นคนนี้ทาง MSN บ้าง Facebook บ้าง ^___^ พอไปขอใช้เครื่องทีไรก็ดูแกจะไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ พยายามค้นหาวิธีแชร์สแกนเนอร์จากในอินเตอร์เน็ตอยู่หลายวัน ก็ไม่เจอวิธีที่จะสามารถแชร์สแกนเนอร์ให้เครื่องอื่นได้ใช้งานได้เลย แชร์ได้แค่ให้สั่งพิมพ์จากเครื่องอื่นๆได้เท่านั้น สุดท้ายก็เลยตัดสินใจใช้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้พบเจอมาใช้ประหยัดเวลา และไม่รบกวนการทำงานและสนทนาของพี่โจ้ ได้วิธีนึง นั่นก็คือ ตั้งค่าสแกนเนอร์ให้บันทึกอัตโนมัติ ไว้ในโฟลเดอร์ที่กำหนด แล้วก็ทำการแชร์โฟลเดอร์เครื่องพี่โจ้ทิ้งไว้ซะเลย 1. ตั้งค่าให้สแกนอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มสแกน 2. กำหนดให้บันทึกลงโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้แล้ว (แชร์โฟลเดอร์เก็บเอกสารสแกนของคอมฯเครื่องนั้นไว้) 3. ...

FPDF ภาษาไทย กับ วรรณยุกต์ลอย

สำหรับงานเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ ด้วย PHP ที่ต้องทำการส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์เอกสาร PDF นั้น เมื่อลองค้นดูแล้วก็เจอกับ FPDF เป็นคลาสที่เขียนขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แต่กับภาษาไทยแล้วก็ต้องเจอกับปัญหาสุดคลาสสิคคือ รองรับภาษาไทยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ^^" บทความที่สอนการใช้งานเบื้องต้นที่ครอบคลุมการทำงานของ FPDF http://www.select2web.com/category/fpdf จะมีบทความแนะนำการใช้ฟอนต์ภาษไทยอยู่ที่ลิงค์นี้ http://www.select2web.com/fpdf/fpdf-lesson-10.html ดาวน์โหลดและสร้างฟอนต์มาใช้เอง http://witkub.blogspot.com/2011/11/fpdf.html สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาวรรณยุกต์ลอย ลองดูวิธีจากที่นี่ http://punnawatt.blogspot.com/2009/07/pdf.html สุดท้ายแล้วลองทดลองมาหมด ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงใจครับ เพราะไม่สามารถแก้สระลอยได้อย่างแท้จริง เพราะเงื่อนไขข้อมูลจริงไม่อาจจะทำให้เหมือนในตัวอย่างได้ ก็เลยถอดใจเรื่องวรรณยุกต์ลอย นอกจากปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ลอย แล้วฟอนต์บางตัวก็เกิดปัญหาวรรณยุกต์ซ้อนทับกันด้วย เช่นคำว่า "นี้" เมื่อผลลัพธ์ออกมา สระอี และวรรณยุกต์โท จะทับกัน สรุป 1. ดาวน์โหล...

PHP CI MANIA