ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

PHP ยังคงมีดีที่เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ทุกคน และใช้งานได้ดีจริง

พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์
โดย ลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
  
       สำหรับใครที่อยากจะศึกษาการเขียนโปรแกรมเว็บแอพพลิเคชั่น ลองมาศึกษา PHP ดูนะครับ เขียนง่าย เข้าใจง่าย ไม่ยากเหมือนการเขียนโปรแกรมฝั่งวินโดวส์แอพฯ หลายคนท้อกับวิชาการเขียนโปรแกรมในระบบปฏิบัติการเท็กซ์โหมด อย่างภาษา C , Pascal และอีกหลายภาษาที่ค่อยข้างซับซ้อน จนทำให้เกิดเปลี่ยนใจหันหลังให้กับมัน
      
       ผมอยากให้นักศึกษาหรือใครก็ตามสนใจงานเขียนโปรแกรม เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล ก็ให้เริ่มศึกษาที่ภาษา PHP อย่างจริงจัง เพราะเรียนง่าย เข้าใจได้ด้วยตัวเอง

       และถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีพรสวรรค์ในงานเขียนโปรแกรมหรือ เริ่มมีทักษะพอจะเรียนรู้ภาษาอื่นๆ ก็ศึกษาเพิ่มเติมได้ไม่ยากแล้ว เพราะหลักการทำงานก็คล้ายๆกัน เพียงแต่เปลี่ยนตัวเขียนเท่านั้น

       ครั้งหนึ่งผมเคยท้อกับการเรียนวิชาเขียนโปรแกรม จนเกือบจะหันหลังทิ้งความฝันไว้ตรงนั้น แต่ผมไม่ได้หยุดมันไว้ที่ตรงนั้น เพียงแต่ผมเลือกที่จะสนใจเพียงสิ่งเดียว ทำมันให้เต็มที่ และสนุกไปกับมัน

                     มีคนถามอยู่บ่อยๆ ว่าอยากเป็นโปรแกรมเมอร์ เรียนภาษาอะไรดี และก็จะได้รับคำตอบว่า "เรียนภาษาอะไรก็ได้ที่ตัวเองถนัด" ซึ่งผมสนับสนุนกับความคิดนี้ครับ ตราบใดงานที่ผลลัพธ์ของโปรแกรมออกมาตามต้องการของผู้ใช้ ภาษาที่เราถนัดที่สุดนั้นคือคำตอบ

       แต่ถ้าวันใด ภาษาที่ใช้ไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ ก็ถึงคราวที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้ภาษาอื่นๆ ซึ่งเมื่อวันนั้นมาึถึง ก็แสดงว่าเราได้เป็นโปรแกรมเมอร์เต็มตัวที่มี ความสามารถพอที่จะเพิ่มการเขียนโปรแกรมภาษาที่ 2 และที่ 3 ที่ตอบโจทย์ได้หลากหลายกว่าเดิม


       ปล.  ผมมองงานเขียนโปรแกรมอยู่ 3 ลักษณะงานครับ

       1. ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น และการจัดการฐานข้อมูล
       2. ภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ เพื่อใช้ในงานระบบอัตโนมัติ
       3. ภาษาที่ใช้พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่นโทรศัพท์มือถือ

       ตอนนี้ผมยังทำได้เพียงด้านเดียวครับ คือข้อ 1 งานด้านการจัดการฐานข้อมูล
       ข้อ 2 นั้น ยังไม่ได้ใช้ในสายงานที่ทำอยู่ ส่วนใหญ่จะใช้ในงานอุตสาหกรรม
       ข้อ 3 เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ อนาคตนี้คงจะต้องใช้ แต่ PHP ยังพอไปได้อยู่เพียงแต่ไม่ได้เป็น Mobile App. จริงๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร้อยละ ทศนิยม 2 ตำแหน่งบวกคืน ไม่เท่ากับ 100 และ ปัญหาการคำนวณเลขทศนิยม เมื่อปัดเศษแล้วค่าที่บวกคืนไม่เท่าเดิม

กรณีนี้เป็นการทดสอบคำนวณเลขที่ต้องหารครึ่ง ตัวอย่างเช่น 2.33 / 2 = 1.165 กรณีนี้ถ้าเก็บค่านี้ในฐานข้อมูลที่กำหนดให้มีทศนิยมเพียง 2 หลัก ในฟิลด์ 2 ฟิลด์ซึ่งแต่ละฟิลด์จะถูกปัดขึ้นเป็น 1.7 เมื่อนำมาบวกกลับ 1.17 + 1.17 = 2.34 ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องกำหนดให้ฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บเลขทศนิยมได้หลายๆตัว ก็จะเก็บเลขทั้งสามหลักไว้ในฐานข้อมูลเลย 1.165 + 1.165 จะได้ 2.33 พอดี แต่ตอนเราแสดงรายงาน ก็จำเป็นจะต้องแสดงเลขทศนิยมเพียงแค่ 2 หลักอยู่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ ก็เก็บมันเป็นเลขทศนิยมเต็มจำนวนซะแล้วตอนแสดงก็ต้องปัดเศษอยู่ดี เพราะค่า 1.165 ถ้าใช้ฟังก์ชั่นปัดเศษลง ก็จะเหลือ 1.16 แต่ถ้าปัดขึ้นก็จะเป็น 1.17 ซึ่งตัวเลขทั้งสองตัว เมื่อนำมารวมกัน ยังไงๆ ก็ไม่เท่ากับ 2.33 อยู่ดี (1.16+1.16 = 2.32,    1.17+1.17 = 2.34 ) อีกตัวอย่างนึงครับเป็นการถอด VAT ราคาสินค้า การคิดค่าทศนิยม แล้วผลรวมเพี้ยน เนื่องจากการปัดเศษ แล้วยอดเกินบ้าง ขาดบ้าง ตัวอย่างการถอด VAT ซื้อของมา 573.50 บาท ถอด VAT ออกมาได้ (573.50*7) / 100 = 40.145 ราคาสินค้า จะได้เป็น 573.50 - 40.14...

FPDF ภาษาไทย กับ วรรณยุกต์ลอย

สำหรับงานเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ ด้วย PHP ที่ต้องทำการส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์เอกสาร PDF นั้น เมื่อลองค้นดูแล้วก็เจอกับ FPDF เป็นคลาสที่เขียนขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แต่กับภาษาไทยแล้วก็ต้องเจอกับปัญหาสุดคลาสสิคคือ รองรับภาษาไทยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ^^" บทความที่สอนการใช้งานเบื้องต้นที่ครอบคลุมการทำงานของ FPDF http://www.select2web.com/category/fpdf จะมีบทความแนะนำการใช้ฟอนต์ภาษไทยอยู่ที่ลิงค์นี้ http://www.select2web.com/fpdf/fpdf-lesson-10.html ดาวน์โหลดและสร้างฟอนต์มาใช้เอง http://witkub.blogspot.com/2011/11/fpdf.html สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาวรรณยุกต์ลอย ลองดูวิธีจากที่นี่ http://punnawatt.blogspot.com/2009/07/pdf.html สุดท้ายแล้วลองทดลองมาหมด ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงใจครับ เพราะไม่สามารถแก้สระลอยได้อย่างแท้จริง เพราะเงื่อนไขข้อมูลจริงไม่อาจจะทำให้เหมือนในตัวอย่างได้ ก็เลยถอดใจเรื่องวรรณยุกต์ลอย นอกจากปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ลอย แล้วฟอนต์บางตัวก็เกิดปัญหาวรรณยุกต์ซ้อนทับกันด้วย เช่นคำว่า "นี้" เมื่อผลลัพธ์ออกมา สระอี และวรรณยุกต์โท จะทับกัน สรุป 1. ดาวน์โหล...

การแชร์สแกนเนอร์ ถึงทำไม่ได้แต่ก็มีวิธีช่วยประหยัดขั้นตอนการทำงาน

"พี่ครับขอใช้เครื่องพี่สแกนเอกสารหน่อยครับ" "พี่ครับขอสแกนอีกสักสองแผ่นครับ" "พี่ครับพอดีมีเอกสารต้องสแกนเพิ่มน่ะครับ" ทุกครั้งที่ต้องสแกนเอกสารเป็นไฟล์เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ผมจะต้องลุกไปขอใช้เครื่องพิมพ์แบบ All-In-One ของพี่โจ้ทุกครั้ง บางครั้งก็เกรงใจแกครับ เห็นกำลังใจจดใจจ่ออยู่กับงานตรงหน้า ไหนจะต้องตอบคำถามคำโน้นคนนี้ทาง MSN บ้าง Facebook บ้าง ^___^ พอไปขอใช้เครื่องทีไรก็ดูแกจะไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ พยายามค้นหาวิธีแชร์สแกนเนอร์จากในอินเตอร์เน็ตอยู่หลายวัน ก็ไม่เจอวิธีที่จะสามารถแชร์สแกนเนอร์ให้เครื่องอื่นได้ใช้งานได้เลย แชร์ได้แค่ให้สั่งพิมพ์จากเครื่องอื่นๆได้เท่านั้น สุดท้ายก็เลยตัดสินใจใช้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้พบเจอมาใช้ประหยัดเวลา และไม่รบกวนการทำงานและสนทนาของพี่โจ้ ได้วิธีนึง นั่นก็คือ ตั้งค่าสแกนเนอร์ให้บันทึกอัตโนมัติ ไว้ในโฟลเดอร์ที่กำหนด แล้วก็ทำการแชร์โฟลเดอร์เครื่องพี่โจ้ทิ้งไว้ซะเลย 1. ตั้งค่าให้สแกนอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มสแกน 2. กำหนดให้บันทึกลงโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้แล้ว (แชร์โฟลเดอร์เก็บเอกสารสแกนของคอมฯเครื่องนั้นไว้) 3. ...

PHP CI MANIA