ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

PHP ยังคงมีดีที่เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ทุกคน และใช้งานได้ดีจริง

พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์
โดย ลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
  
       สำหรับใครที่อยากจะศึกษาการเขียนโปรแกรมเว็บแอพพลิเคชั่น ลองมาศึกษา PHP ดูนะครับ เขียนง่าย เข้าใจง่าย ไม่ยากเหมือนการเขียนโปรแกรมฝั่งวินโดวส์แอพฯ หลายคนท้อกับวิชาการเขียนโปรแกรมในระบบปฏิบัติการเท็กซ์โหมด อย่างภาษา C , Pascal และอีกหลายภาษาที่ค่อยข้างซับซ้อน จนทำให้เกิดเปลี่ยนใจหันหลังให้กับมัน
      
       ผมอยากให้นักศึกษาหรือใครก็ตามสนใจงานเขียนโปรแกรม เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล ก็ให้เริ่มศึกษาที่ภาษา PHP อย่างจริงจัง เพราะเรียนง่าย เข้าใจได้ด้วยตัวเอง

       และถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีพรสวรรค์ในงานเขียนโปรแกรมหรือ เริ่มมีทักษะพอจะเรียนรู้ภาษาอื่นๆ ก็ศึกษาเพิ่มเติมได้ไม่ยากแล้ว เพราะหลักการทำงานก็คล้ายๆกัน เพียงแต่เปลี่ยนตัวเขียนเท่านั้น

       ครั้งหนึ่งผมเคยท้อกับการเรียนวิชาเขียนโปรแกรม จนเกือบจะหันหลังทิ้งความฝันไว้ตรงนั้น แต่ผมไม่ได้หยุดมันไว้ที่ตรงนั้น เพียงแต่ผมเลือกที่จะสนใจเพียงสิ่งเดียว ทำมันให้เต็มที่ และสนุกไปกับมัน

                     มีคนถามอยู่บ่อยๆ ว่าอยากเป็นโปรแกรมเมอร์ เรียนภาษาอะไรดี และก็จะได้รับคำตอบว่า "เรียนภาษาอะไรก็ได้ที่ตัวเองถนัด" ซึ่งผมสนับสนุนกับความคิดนี้ครับ ตราบใดงานที่ผลลัพธ์ของโปรแกรมออกมาตามต้องการของผู้ใช้ ภาษาที่เราถนัดที่สุดนั้นคือคำตอบ

       แต่ถ้าวันใด ภาษาที่ใช้ไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ ก็ถึงคราวที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้ภาษาอื่นๆ ซึ่งเมื่อวันนั้นมาึถึง ก็แสดงว่าเราได้เป็นโปรแกรมเมอร์เต็มตัวที่มี ความสามารถพอที่จะเพิ่มการเขียนโปรแกรมภาษาที่ 2 และที่ 3 ที่ตอบโจทย์ได้หลากหลายกว่าเดิม


       ปล.  ผมมองงานเขียนโปรแกรมอยู่ 3 ลักษณะงานครับ

       1. ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น และการจัดการฐานข้อมูล
       2. ภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ เพื่อใช้ในงานระบบอัตโนมัติ
       3. ภาษาที่ใช้พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่นโทรศัพท์มือถือ

       ตอนนี้ผมยังทำได้เพียงด้านเดียวครับ คือข้อ 1 งานด้านการจัดการฐานข้อมูล
       ข้อ 2 นั้น ยังไม่ได้ใช้ในสายงานที่ทำอยู่ ส่วนใหญ่จะใช้ในงานอุตสาหกรรม
       ข้อ 3 เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ อนาคตนี้คงจะต้องใช้ แต่ PHP ยังพอไปได้อยู่เพียงแต่ไม่ได้เป็น Mobile App. จริงๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร้อยละ ทศนิยม 2 ตำแหน่งบวกคืน ไม่เท่ากับ 100 และ ปัญหาการคำนวณเลขทศนิยม เมื่อปัดเศษแล้วค่าที่บวกคืนไม่เท่าเดิม

กรณีนี้เป็นการทดสอบคำนวณเลขที่ต้องหารครึ่ง ตัวอย่างเช่น 2.33 / 2 = 1.165 กรณีนี้ถ้าเก็บค่านี้ในฐานข้อมูลที่กำหนดให้มีทศนิยมเพียง 2 หลัก ในฟิลด์ 2 ฟิลด์ซึ่งแต่ละฟิลด์จะถูกปัดขึ้นเป็น 1.7 เมื่อนำมาบวกกลับ 1.17 + 1.17 = 2.34 ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องกำหนดให้ฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บเลขทศนิยมได้หลายๆตัว ก็จะเก็บเลขทั้งสามหลักไว้ในฐานข้อมูลเลย 1.165 + 1.165 จะได้ 2.33 พอดี แต่ตอนเราแสดงรายงาน ก็จำเป็นจะต้องแสดงเลขทศนิยมเพียงแค่ 2 หลักอยู่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ ก็เก็บมันเป็นเลขทศนิยมเต็มจำนวนซะแล้วตอนแสดงก็ต้องปัดเศษอยู่ดี เพราะค่า 1.165 ถ้าใช้ฟังก์ชั่นปัดเศษลง ก็จะเหลือ 1.16 แต่ถ้าปัดขึ้นก็จะเป็น 1.17 ซึ่งตัวเลขทั้งสองตัว เมื่อนำมารวมกัน ยังไงๆ ก็ไม่เท่ากับ 2.33 อยู่ดี (1.16+1.16 = 2.32,    1.17+1.17 = 2.34 ) อีกตัวอย่างนึงครับเป็นการถอด VAT ราคาสินค้า การคิดค่าทศนิยม แล้วผลรวมเพี้ยน เนื่องจากการปัดเศษ แล้วยอดเกินบ้าง ขาดบ้าง ตัวอย่างการถอด VAT ซื้อของมา 573.50 บาท ถอด VAT ออกมาได้ (573.50*7) / 100 = 40.145 ราคาสินค้า จะได้เป็น 573.50 - 40.145 = 533.3

FPDF ภาษาไทย กับ วรรณยุกต์ลอย

สำหรับงานเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ ด้วย PHP ที่ต้องทำการส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์เอกสาร PDF นั้น เมื่อลองค้นดูแล้วก็เจอกับ FPDF เป็นคลาสที่เขียนขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แต่กับภาษาไทยแล้วก็ต้องเจอกับปัญหาสุดคลาสสิคคือ รองรับภาษาไทยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ^^" บทความที่สอนการใช้งานเบื้องต้นที่ครอบคลุมการทำงานของ FPDF http://www.select2web.com/category/fpdf จะมีบทความแนะนำการใช้ฟอนต์ภาษไทยอยู่ที่ลิงค์นี้ http://www.select2web.com/fpdf/fpdf-lesson-10.html ดาวน์โหลดและสร้างฟอนต์มาใช้เอง http://witkub.blogspot.com/2011/11/fpdf.html สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาวรรณยุกต์ลอย ลองดูวิธีจากที่นี่ http://punnawatt.blogspot.com/2009/07/pdf.html สุดท้ายแล้วลองทดลองมาหมด ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงใจครับ เพราะไม่สามารถแก้สระลอยได้อย่างแท้จริง เพราะเงื่อนไขข้อมูลจริงไม่อาจจะทำให้เหมือนในตัวอย่างได้ ก็เลยถอดใจเรื่องวรรณยุกต์ลอย นอกจากปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ลอย แล้วฟอนต์บางตัวก็เกิดปัญหาวรรณยุกต์ซ้อนทับกันด้วย เช่นคำว่า "นี้" เมื่อผลลัพธ์ออกมา สระอี และวรรณยุกต์โท จะทับกัน สรุป 1. ดาวน์โหล

FPDI มาทำให้การสร้างเอกสาร PDF ด้วย PHP ง่ายขึ้นกันเถอะ

เคยใช้กันรึยังครับ เหมาะสำหรับงานสร้างแบบฟอร์ม PDF แล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มทีหลัง หลักการคือโหลด PDF เข้ามา แล้วก็เขียนไฟล์ใหม่ขึ้นมา ส่วนที่มันไดนามิกมากๆ คงไม่เหมาะเท่าไหร่ ถ้าให้มองการทำงานของไลบรารี่ตัวนี้ ก็เหมือนกับที่เราสั่งทำใบเสร็จรับเงิน แล้วกรอกข้อมูลทีหลังนั่นเอง 1. สร้าง PDF เปล่าๆ ที่มีแค่ส่วนหัว และส่วนท้าย 2. เติมข้อมูลรายการลงในส่วนกลาง ถ้าเกินจำนวนแถวที่กำหนดให้ขึ้นหน้าใหม่ http://www.setasign.com/products/fpdi/about/ ตัวอย่างในลิงค์ต่อไปนี้ จะเป็นการนำข้อความในไฟล utf8test.txt ไปแทรกในไฟล์ logo.pdf http://www.setasign.com/products/fpdi/demos/tcpdf-demo/ PHP  CI  MANIA   -  PHP Code Generator  โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด  "ลดเวลาการเขียนโปรแกรม" ราคาสุดคุ้ม    http://fastcoding.phpcodemania.com

PHP CI MANIA