ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระบบอัตโนมัติ ที่แตกต่างกัน



       วันนี้มีเวลานั่งซดคาปูชิโน่เย็นแก้วใหญ่หลังมื้อเที่ยงในร้านแกแฟใกล้สำนักงาน ก็นั่งคิดอะไรไปเพลินๆ แล้วก็มีความคิดแว๊บเข้ามาในหัว ก็เกิดการเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์เดินดินกินข้าวแกงอย่างผมกับเจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์หัวไบรท์ตั้งแต่เกิดว่าเหมือนกันตรงไหน


    คิดๆ ดูแล้วคอมพิวเตอร์คงจะสร้างเลียนมนุษย์เรานั่นเอง เป็นการเลียนแบบในเรื่องระบบความคิด และระบบอัตโนมัติ

     เหมือนกันอย่างไร เรื่องความเร็วครับ คอมพิวเตอร์คิดคำนวณอย่างรวดเร็ว
คนก็คิดเร็ว ปากเร็ว มือเท้าเร็ว ยิ่งเวลาหงุดหงิดๆ ละก็นะ
     เรื่องความจำ คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลอย่างถาวรไว้ที่ ฮาร์ดดิสก์ และพักข้อมูลชั่วคราวไว้ที่แรมเพื่อสะดวกต่อการเรียกใช้

     คนเราเก็บข้อมูลไว้ที่สมอง เรื่องบางเรื่องก็เก็บไว้อย่างถาวรลบยังไงก็ลบไม่ออก ลืมยังไงก็ลืมไม่ลง แต่กับบางเรื่อง พยายามจดจำไว้อย่างดี พอถึงเวลาต้องใช้กับนึกไม่ออกซะงั้น เป็นอะไรที่ซับซ้อนครับ บางทีเผลอเดินสะดุด ก็ลืมซะแล้ว

     เวลาที่สมองปลอดโปร่งก็จำอะไรได้แม่น คิดอะไรก็เร็ว แต่พอหิวขึ้นมาข้อมูลก็ไปถูกพักไว้ที่ท้องซะงั้น ยิ่งถ้าหงุดหงิดขึ้นมา โมโหโกรธาหน้ามืด คราวนี้แหละสมาธิแตกกระเจิง ดั่งธาตุไฟเข้าแทรก ควันออกหูขึ้นมา ก็เกิดอาการแฮงก์เหมือนเครื่องโดนไวรัสเข้าสิง


    มนุษย์ถึงจะคิดช้า แต่ก็มีการนำสิ่งสำคัญที่เรียกว่าความรู้สึกใส่เข้าไปในขั้นตอนประมวลผลด้วย ถึงความแม่นยำจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถประยุกต์ขั้นตอนและทำได้มากกว่าคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างแม่นยำภายใต้ขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ด้วยระบบงานที่ออกแบบมาเท่านั้น บางอย่างที่นอกเหนือจากนี้ ก็ทำไม่ได้ซะแล้ว แล้วจะทำไงดีล่ะคราวนี้

     ก็เพราะด้วยเหตุนี้แหละครับ โปรแกรมเมอร์ตัวน้อยๆอย่างผมถึงได้มีงานทำมาจนถึงทุกวันนี้ ถ้าโปรแกรมสำเร็จรูปตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง ทุกหน่วยงานก็คงจะสั่งซื้อมาใช้โดยไม่ต้องลังเล แต่ผู้บริหารบางท่านเขามีความคิดที่กว้างกว่านั้นครับ การบริหารงานมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นตลอดเวลา และเมื่อไปยึดติดอยู่กับซอร์ฟแวร์ที่นำมาใช้ จะเกิดอะไรขึ้นล่ะครับ


       โปรแกรมบางตัวราคาหลักล้าน จะทิ้งขว้างก็เสียดาย จะใช้ต่อก็เหมือนไม่ตอบโจทย์ซะแล้ว

   
     แล้วการจ้างโปรแกรมเมอร์มานั่งประจำออฟฟิศมันดีจริงหรือ???


     ก็ไม่ใช่ว่าจะดีกว่าโปรแกรมสำเร็จรูปหรอกครับ เพียงแต่สั่งได้ปรับได้แก้ได้ ตามใจเรา แต่ก็เพราะมันยืดหยุ่นเกินไป จนมาตรฐานจะหย่อนยานอยู่แล้วนี่แหละครับ ทำให้เกิดเรื่องปวดหัวได้ไม่เว้นแต่ละวัน เพราะแก้ไขไปแล้วไม่มีฝ่ายทดสอบระบบน่ะครับ พอทดสอบโดยรวมผ่านก็นำไปใช้ แต่พอยูสเซอร์ใช้งานมากเข้าก็เจอบั๊กจนได้


     ทุกวันนี้ก็ต้องพยายามให้ดีที่สุดครับ ให้มันมีบั๊กให้น้อยที่สุด จะได้อยุ่รอดปลอดภัยต่อไป




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร้อยละ ทศนิยม 2 ตำแหน่งบวกคืน ไม่เท่ากับ 100 และ ปัญหาการคำนวณเลขทศนิยม เมื่อปัดเศษแล้วค่าที่บวกคืนไม่เท่าเดิม

กรณีนี้เป็นการทดสอบคำนวณเลขที่ต้องหารครึ่ง ตัวอย่างเช่น 2.33 / 2 = 1.165 กรณีนี้ถ้าเก็บค่านี้ในฐานข้อมูลที่กำหนดให้มีทศนิยมเพียง 2 หลัก ในฟิลด์ 2 ฟิลด์ซึ่งแต่ละฟิลด์จะถูกปัดขึ้นเป็น 1.7 เมื่อนำมาบวกกลับ 1.17 + 1.17 = 2.34 ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องกำหนดให้ฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บเลขทศนิยมได้หลายๆตัว ก็จะเก็บเลขทั้งสามหลักไว้ในฐานข้อมูลเลย 1.165 + 1.165 จะได้ 2.33 พอดี แต่ตอนเราแสดงรายงาน ก็จำเป็นจะต้องแสดงเลขทศนิยมเพียงแค่ 2 หลักอยู่ดี แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ ก็เก็บมันเป็นเลขทศนิยมเต็มจำนวนซะแล้วตอนแสดงก็ต้องปัดเศษอยู่ดี เพราะค่า 1.165 ถ้าใช้ฟังก์ชั่นปัดเศษลง ก็จะเหลือ 1.16 แต่ถ้าปัดขึ้นก็จะเป็น 1.17 ซึ่งตัวเลขทั้งสองตัว เมื่อนำมารวมกัน ยังไงๆ ก็ไม่เท่ากับ 2.33 อยู่ดี (1.16+1.16 = 2.32,    1.17+1.17 = 2.34 ) อีกตัวอย่างนึงครับเป็นการถอด VAT ราคาสินค้า การคิดค่าทศนิยม แล้วผลรวมเพี้ยน เนื่องจากการปัดเศษ แล้วยอดเกินบ้าง ขาดบ้าง ตัวอย่างการถอด VAT ซื้อของมา 573.50 บาท ถอด VAT ออกมาได้ (573.50*7) / 100 = 40.145 ราคาสินค้า จะได้เป็น 573.50 - 40.145 = 533.3

FPDF ภาษาไทย กับ วรรณยุกต์ลอย

สำหรับงานเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ ด้วย PHP ที่ต้องทำการส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์เอกสาร PDF นั้น เมื่อลองค้นดูแล้วก็เจอกับ FPDF เป็นคลาสที่เขียนขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แต่กับภาษาไทยแล้วก็ต้องเจอกับปัญหาสุดคลาสสิคคือ รองรับภาษาไทยไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ^^" บทความที่สอนการใช้งานเบื้องต้นที่ครอบคลุมการทำงานของ FPDF http://www.select2web.com/category/fpdf จะมีบทความแนะนำการใช้ฟอนต์ภาษไทยอยู่ที่ลิงค์นี้ http://www.select2web.com/fpdf/fpdf-lesson-10.html ดาวน์โหลดและสร้างฟอนต์มาใช้เอง http://witkub.blogspot.com/2011/11/fpdf.html สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาวรรณยุกต์ลอย ลองดูวิธีจากที่นี่ http://punnawatt.blogspot.com/2009/07/pdf.html สุดท้ายแล้วลองทดลองมาหมด ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงใจครับ เพราะไม่สามารถแก้สระลอยได้อย่างแท้จริง เพราะเงื่อนไขข้อมูลจริงไม่อาจจะทำให้เหมือนในตัวอย่างได้ ก็เลยถอดใจเรื่องวรรณยุกต์ลอย นอกจากปัญหาเรื่องวรรณยุกต์ลอย แล้วฟอนต์บางตัวก็เกิดปัญหาวรรณยุกต์ซ้อนทับกันด้วย เช่นคำว่า "นี้" เมื่อผลลัพธ์ออกมา สระอี และวรรณยุกต์โท จะทับกัน สรุป 1. ดาวน์โหล

FPDI มาทำให้การสร้างเอกสาร PDF ด้วย PHP ง่ายขึ้นกันเถอะ

เคยใช้กันรึยังครับ เหมาะสำหรับงานสร้างแบบฟอร์ม PDF แล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มทีหลัง หลักการคือโหลด PDF เข้ามา แล้วก็เขียนไฟล์ใหม่ขึ้นมา ส่วนที่มันไดนามิกมากๆ คงไม่เหมาะเท่าไหร่ ถ้าให้มองการทำงานของไลบรารี่ตัวนี้ ก็เหมือนกับที่เราสั่งทำใบเสร็จรับเงิน แล้วกรอกข้อมูลทีหลังนั่นเอง 1. สร้าง PDF เปล่าๆ ที่มีแค่ส่วนหัว และส่วนท้าย 2. เติมข้อมูลรายการลงในส่วนกลาง ถ้าเกินจำนวนแถวที่กำหนดให้ขึ้นหน้าใหม่ http://www.setasign.com/products/fpdi/about/ ตัวอย่างในลิงค์ต่อไปนี้ จะเป็นการนำข้อความในไฟล utf8test.txt ไปแทรกในไฟล์ logo.pdf http://www.setasign.com/products/fpdi/demos/tcpdf-demo/ PHP  CI  MANIA   -  PHP Code Generator  โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด  "ลดเวลาการเขียนโปรแกรม" ราคาสุดคุ้ม    http://fastcoding.phpcodemania.com

PHP CI MANIA